แบบรายงานการใช้บริการคลินิคนักวิจัย

ปี 2561

ผู้ใช้บริการ

หัวข้อที่ปรึกษา

ผู้ให้คำแนะนำ

รายละเอียดคำแนะนำ

อ.อลิษา สุนทรวัฒน์ การวิเคราะห์แบบสอบถามที่ใช้ในงานวิจัยประเมินหลักสูตร รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ ให้ตัวอย่างการทำแบบสอบถามงานวิจัยประเมินหลักสูตรพร้อมทั้งช่วยตรวจสอบแบบสอบถามของงานวิจัยประเมินหลักสูตรเทคโนโลยีการอาหาร
อ.ดร.ชวนพิศ จิระพงษ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการทำวิจัยประเมินหลักสูตร รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ ให้คำแนะนำวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลในการทำงานวิจัยประเมินหลักสูตร
อ.ศรมน สุทิน แบบสอบถามวิจัยชั้นเรียน

การวางแผน การตั้งคำถาม  การค้นคว้าหาข้อมูล ตัวแปรที่จะวัดก่อนและหลัง การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ทางสถิติ การสรุป

รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ – การตั้งคำถามในหัวข้อวิจัยชั้นเรียน ควรสอดคล้องกับกิจกรรมที่เราจะเสริมให้นักศึกษา และควรมีชื่อชั้นปีและหลักสูตร

– การค้นคว้าข้อมูล สามารถค้นได้จากงานวิจัยที่มีผู้ทำไว้แล้วจาก google หรือฐานข้อมูลต่างในห้องสมุด

– ในส่วนตัวแปรโดยส่วนใหญ่จะใช้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างไรก็ตามอาจเพิ่มวัดปัจจัยอื่นๆเพิ่มอีก เช่น พฤติกรรมการเรียน ความตั้งใจ ทัศนคติ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะใช้สถิติการวิเคราะห์ ความแปรปรวนพหุ (MANOVA) โดยควรแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่ม (กรณีจำนวนนักศึกษามาก) และควรมีกลุ่มควบคุมด้วย

ผศ.เมตตา โพธิ์กลิ่น การเลือกกลุ่มตัวอย่าง ในการศึกษาเรื่อง ผลของการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่มีต่อการตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอดในอาสาสมัครปกติ รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ การเลือกหรือสุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มออกกำลังกายจะต้องมีจำนวนเท่าๆกันและควรเลือกเพศเดียวกันทั้ง 2 กลุ่ม การออกกำลังกายแบบแอโรบิคควรมีเกณฑ์ในการเลือกชัดเจน กีฬาที่เล่นเป็นประเภทใดในชุมชนนั้นๆ รวมทั้งอายุควรอยู่ในช่วงเดียวกันทั้ง 2 กลุ่ม
อ.ภาสินี สงวนสิทธิ์ ปรึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัยผนังหลอดเลือดจากร่างอาจารย์ใหญ่ รวมถึงการเขียนขอทุนวิจัย รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ ผนังหลอดเลือดในร่างกายมนุษย์มีอยู่หลายขนาด ซึ่งในแต่ละขนาดจะมีโครงสร้างของ

Collagen, elastic fiber และ smooth muscle ไม่เท่ากัน ดังนั้นควรพิจารณาจากข้อมูลที่มีผู้เคยศึกษามาก่อนว่าการใช้หลอดเลือดต่างๆเป็นอย่างไร โดยการ review เอกสารก่อนหน้าให้มากที่สุด ทั้งนี้ นอกจากวิจัยเชิงการผ่าแล้ว อาจรวบรวมเอกสารการวิจัย ดำเนินงานวิจัยในลักษณะการสังเคราะห์งานวิจัยก่อนก็ได้ (Meta-analysisreseach)

รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ ได้ปรึกษาเกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานวิจัยส่งตีพิมพ์ระดับนานาชาติ ผศ.ดร.ชัยรัตน์ เตชวุฒิพร ให้ทำการหาแหล่งตีพิมพ์ทาง website โดยสืบค้นวารสารที่ได้รับการยอมรับ จากนั้นเข้าทาง website ของทางวารสาร แล้วส่งไฟล์เข้าพิจารณา โดยสามารถดูผลการพิจารณาได้จาก websiteนั้นๆ โดยในการส่งควรเขียนจุดเด่นของงานวิจัย (high light) จะได้รับการพิจารณาได้ง่ายขึ้น
ผศ.ดร.ชัยรัตน์ เตชวุฒิพร การทำวิจัยในชุมชน ลักษณะการทำวิจัยในชุมชน รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ ได้รับคำแนะนำถึงรูปแบบต่างๆในการทำวิจัยชุมชนซึ่งขึ้นอยู่กับศักยภาพในการดำเนินการ ได้แก่

1. งานวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งสามารถดำเนินการในชุมชนที่ใช้ระยะเวลาสั้นและงบประมาณไม่มากนัก

2.งานวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experiment research) เช่นการทดลองการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชุมชนโดยเครื่องมือวิธีการทางสังคมศาสตร์

3.งานวิจัยเชิงปฏิบัติการ มักนิยมใช้แก้ปัญหาต่างๆในชุมชนจากความร่วมมือหลายฝ่ายหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือที่ใช้มีอยู่หลากหลาย ได้แก่ เทคนิคด้านต่างๆ เช่น participatory action research และ เทคนิค FSC เป็นต้น

ผศ.ดร.พรพิมล กาญจนวาศ การออกแบบประเมินสำหรับงานวิจัยชุมชน รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ การออกแบบการประเมินต้องอ้างอิงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยและข้อคำถามต้องคลอบคลุมเนื้อหาของงานวิจัย รวมถึงสามารถนำมาวิเคราะห์ผลได้ง่าย
อ.ระพีพันธุ์ ศิริเดช หลักการในการทำวิจัยทั้งในรูปแบบการสำรวจและการทดลอง การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างและจำนวนกลุ่มตัวอย่างให้มีความเหมาะสมในการทำวิจัย รศ.ดร.บังอร ฉางทรัพย์ – การวิจัยเพื่อการสำรวจเป็นการวิจัยเพื่อศึกษาตัวแปรและอธิบายผลของตัวแปรของเหตุการณ์นั้น ส่วนการวิจัยเชิงทดลองเป็นการศึกษาหาสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา

– ส่วนการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและจำนวนกลุ่มตัวอย่าง ควรดูจากวัตถุประสงค์ของงานเป็นหลักและมีการค้นคว้าอ้างอิงจากงานวิจัยก่อนหน้า เพื่อนำมาใช้ประกอบการทำวิจัย

อ.ดร.สุกัญญา เพชรศิริเวทย์ การวิเคราะห์และแปรผล spectrum จากเครื่อง UV-VIS spectroscopy ผลของการทำ Calibration curve ที่ไม่เป็นเส้นตรง อ.ดร.กิตติพัฒน์โสภิตธรรมคุณ เป็นผลของหลักการเบี่ยงเบนจากกฎของ Beer-Lambert’s laws ที่ความเข้มข้นของสารละลายจะไม่แปรผันโดนตรงกันว่า การดูดกลืนคลื่นแสง

ข้อเสนอแนะ: ให้ลดความเข้มข้นของสารละลายและพยายามอย่าให้สารละลายตะกอน/ขุ่น

เอกสารการใช้บริการคลินิกวิจัย

ปี 2559